วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

กระเจี๊ยบแดง


1 กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L. วงศ์ Malvaceae
ชื่อสามัญ Rosella, Red Sorrel, Jamaica Sorrel
ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือเรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ทั่วไปเรียก กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอล
น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นยากัดเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต แก้อาการขัดเบา และสามารถลดไขมันในเลือด

ลักษณะทั่วไป
กระเจี๊ยบแดง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑.๕-๓ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบสลับ มีหลายแบบด้วยกัน บ้างมีขอบใบเรียบ บ้างมีรอยหยักเว้า ๓ หยัก ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๑๐ เซนติเมตร ดอกมีสีครีม ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป เหลือกลีบเลี้ยงอวบพองคงอยู่ ใบกระเจี๊ยบแดงมีรสเปรี้ยว กินได้ทั้งดิบและสุก ใส่ในแกงเผ็ดเพื่อแต่งรสได้ ใบอ่อนและยอด ใช้แต่งรสเปรี้ยว ใส่ต้มหรือแกง ชาวมอญใช้ใบกระเจี๊ยบแดงทำแกงกระเจี๊ยบ กลีบเลี้ยงสีแดงใช้ทำเครื่องดื่ม มีวิตามินเอสูง พบทั้งในประเทศไทยและแถบประเทศเม็กซิโก กลีบเลี้ยงมีเพ็กตินสูง ใช้ทำแยมและประกอบอาหาร เบเกอรี่ได้ดี

กระเจี๊ยบแดง (Jamaica sorrel, Sorrel, Roselle) Hibiscus sabdariffa Linn.
กระเจี๊ยบแดงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศซูดาน ทวีปแอฟริกา ในตลาดโลกกระเจี๊ยบแดงที่มีคุณภาพดี มาจากประเทศซูดานและประเทศไทย แต่กระเจี๊ยบแดงทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกันมาก สำหรับประเทศไทยแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรี อุตรดิตถ์ และกาญจนบุรี ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ล้มลุก สูง 1-2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีแดงอมม่วง ใบ มีหลายลักษณะ มักแยกเป็นแฉก เว้าลึก 3 แฉกหรือเรียบ ปลายใบแหลม มีขน หูใบรูปยาวแคบ มีก้านใบยาว ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีชมพูอ่อน โคนกลีบแดง มี 8-12 กลีบ ผล เป็นรูปรีปลายแหลม มีจงอยสั้นๆ มีขนหยาบสีเหลืองคลุม หุ้มไว้ด้วยกลีบเลี้ยงและริ้วประดับ ซึ่งมีลักษณะอวบน้ำสีแดงเป็นส่วนที่นำมารับประทาน เมล็ด สีดำรูปไต

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
กระเจี๊ยบเป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นสูง 1 - 2 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบออกสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ตัวใบรีแหลม อาจมีรอยเว้าลึก แบ่งตัวใบออกเป็น3แฉก ดอกมีสีชมพูอมแดง หลังจากดอกแก่เต็มที่แล้วกลีบเลี้ยงจะติดกับเป็นสีแดงอมม่วง เนื้อหนากรอบหักง่าย ห่อหุ้มเมล็ดสีดำ เมล็ดมีจำนวนมาก กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมให้ประชาชนปลูก มีตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น ประเทศเยอรมัน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ปลูกโดยใช้เมล็ดควรปลูกในช่วงปลายฤดูฝน

ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของกระเจี๊ยบแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือนถึง 4 เดือนครึ่ง
รสใบ - มีรสเปรี้ยว แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก ดอก - แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล - ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด - รสเมา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในสำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้วยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

สรรพคุณทางยา
การใช้งานในประเทศไทยกล่าวว่า น้ำกระเจี๊ยบเป็นยากัดเสมหะ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด (อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ขับปัสสาวะ) ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต แก้อาการขัดเบา และสามารถลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย
ส่วนผลอ่อนต้มกินติดต่อกัน ๕-๘ วัน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ผลแห้งป่นเป็นผง กินครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ ๓-๔ ครั้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ เมล็ดบดเพื่อเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และยาบำรุง น้ำต้มดอกแห้งมีกรดผลไม้และ AHA หลายชนิดในปริมาณสูง ปัจจุบันมีคนนำเข้าเนื้อครีมหน้าใสเป็นสินค้าโอท็อปชื่อดังไปแล้ว

ประโยชน์ด้านอื่นๆของกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณทางยา หลายอย่าง เช่น เมล็ด แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ใบและผล ทำยาแก้ไอ กัดเสมหะ ขับเมือก ขับมันในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ ช่วยให้ปัสสาวะใสและคล่องขึ้น ช่วยลดความดันเลือด แก้อาการกระหายน้ำ เปลือกกระเจี๊ยบแดงมีเส้นใยเหนียวและแข็งแรงมาก ดีกว่าใยปอแก้ว และปอกระเจาเสียอีก ใช้ทำเชือก ทอกระสอบ ทำเปล ถักแห ถักอวนได้ดี

สารเคมี : สารเคมีที่สำคัญใน ดอก พบ Protocatechuic acid. hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
สารที่พบ
กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบมีสาร anthocyanin ทำให้มีสีม่วงแดง 1% เช่น cyanidine, delphinidin และสารอื่น ๆ เช่น hibisin, hibicetin และกรดอินทรีย์ ประมาณ 27.44% ของน้ำหนักแห้ง เช่น กรดทาร์ทาริค (tartaric acid) กรดพัลมิติก ( palmitic acid) กรดสเตียริก (stearic acid) กรดมาลิก (malic acid) กรดซิตริก ( citric acid) กรดไฮดรอกซีซิตริก ( hydroxycitric acid) และสารเมือกเพคติน ( pectin) และแร่ธาตุอื่น ๆ โดยเฉพาะใบและยอดอ่อนมีวิตามินเอ ( vitamin A) แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง
สารอาหารที่มีประโยชน์
Protocatechuic acid. Hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossympetin.
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ส้มพอเหมาะ” ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
วิธีและปริมาณที่ใช้
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา? (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆจะหายไป
ข้อควรระวัง
กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

การปลูก
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสง สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง พันธุ์ที่ใช้ คือพันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร มีกลีบเลี้ยงหนา สีแดงเข้มจนถึงม่วง ส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพเสริม หลังการทำนาหรือปลูกข้าวโพดซึ่งเป็นอาชีพหลัก การปลูกทำได้ 2 อย่าง คือ ปลูกเป็นพืชเดี่ยว หรือปลูกแซมในแปลงปลูกข้าวโพด ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และความสะดวกในการจัดการ
การปลูกเป็นพืชเดี่ยว เตรียมดินทำเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป ปลูกโดยใช้วิธีหยอดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อเป็นต้นอ่อนถอนให้เหลือหลุมละ2-3 ต้น เพื่อไม่ให้แน่นมาก หรือใช้วิธีหว่าน เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว แต่การเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นระเบียบ ยากต่อการดูแลจัดการ ส่วนการปลูกในพื้นที่แปลงข้าวโพด ไม่ต้องเตรียมดิน สามารถปลูกหลังจากปลูกข้าวโพดประมาณ 1 เดือน เกษตรกรจะนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยที่จะให้ข้าวโพด หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตอยู่ระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้ว กระเจี๊ยบจะอยู่ในช่วงออกดอกพอดี
ฤดูปลูกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน กระเจี๊ยบเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมาก การเก็บเกี่ยว ในกรณีที่ปลูกเป็นพืชเดี่ยว เริ่มเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนการปลูกแซมในแปลงข้าวโพด เก็บเกี่ยวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ทำได้ 2 วิธี
1. เก็บเกี่ยวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง โดยใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกที่แก่ แล้วใส่ในภาชนะที่มีวัสดุรอง เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกช้ำ แล้วจึงขนย้ายออกจากแปลง
2. เก็บเกี่ยวทั้งต้น โดยใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกบริเวณโคนกิ่ง วิธีนี้จะเก็บเกี่ยวได้รวดเร็ว แต่ดอกอาจหลุดร่วงระหว่างขนย้าย นำดอกกระเจี๊ยบแดงที่ได้ไปแทงเมล็ด โดยใช้แท่งโลหะกลวงปลายหยัก แทงบริเวณขั้วดอกให้ฝักหุ้มเมล็ดหลุดจากกลีบเลี้ยง ควรทำให้เสร็จภายใน 48 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว แล้วนำไปตากแดด 4-7 วัน จนแห้งสนิท จากนั้นจึงบรรจุในกระสอบป่าน ประมาณ 18-20 กก./กระสอบ จึงนำไปจำหน่าย ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 2 เดือน เนื่องจากน้ำหนักอาจลดลง หรือเกิดเชื้อราได้